วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สิ่งพิมพ์

ออกแบบสิ่งพิมพ์

ด้วยความหลากหลายทางด้านรูปแบบ ขนาดและสีสัน รวมทั้งความสามารถในการสร้างแรงกระตุ้นต่อกลุ่มผู้บริโภค ได้เป็นอย่างดีของสื่อสิ่งพิมพ์ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัททั่วโลกยังคงเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นช่องทางในการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ นามบัตรถือเป็นสื่อ
สิ่งพิมพ์ที่เปรียบเสมือนหน้าตาของบริษัท ความประทับใจที่เกิดขึ้นจากนามบัตรของคุณ ไม่เพียงแต่ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตราสินค้าเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพ ความเป็นมืออาชีพ และ ความน่าเชื่อถือของบริษัทคุณได้อีกด้วย ช่องทางการจัดจำหน่ายในยุคปัจจุบัน มีสินค้าชนิดเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อให้เลือกจับจ่าย ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี ดูโดดเด่นสามารถดึงดูดความสนใจ และโน้มน้าวให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า สินค้าทั่วๆ ไป สีสันที่ใช้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเช่นเดียวกัน สังเกตได้จากบรรจุภัณฑ์ในทวีปเอเซีย มักจะมีสีสันที่หลากหลายกว่าบรรจุภัณฑ์ในทวีปยุโรปหรืออเมริกา ทั้งนี้ก็เพราะว่า สีสันสามารถสร้างอารมณ์ และกระตุ้น ความรู้สึกของคนเอเซียได้ดีกว่าคนยุโรป หรืออเมริกานั่นเอง ที่กล่าวมาอาจดูเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ก็มีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งที่สามารถสร้างความสำเร็จ และความมั่นคงอย่างแท้จริงให้กับคุณได้ เราสรรหารูปแบบที่หลากหลายและครบถ้วนมาไว้ ณ ที่นี่แล้ว
»
การออกแบบโลโก้ (logo design)
»
หัวจดหมาย (stationary)
»
นามบัตร(calling cards)
»
ใบปลิว (flyers)
»
โบรชัวร์ (brochures) และแคตตาล๊อก (catalogues)
»
template ในรูปแบบดิจิตอลสำหรับโปรแกรม Power point, Word documents และ PDF files
ดีไซน์อย่างโดดเด่น:
»
ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปภาพ รูปแบบ และรวมไปถึงวัสดุที่จะนำมาใช้อีกด้วยบรรจุภัณฑ์:
»
เริ่มตั้งแต่ป้ายฉลากของสินค้า ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ทุกชนิด
การออกแบบ
สิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่:
»
ภาพตกแต่งฝาผนัง (wall covering)
โปสเตอร์ (posters)
»
ป้ายโฆษณา (billboards)

แบบบ้าน

การออกแบบบ้านบ้านสำหรับชนชั้นกลางทั่วไป ที่สร้างบนที่ดินขนาด 50-150 ตร.วา มักจะเป็นบ้านจัดสรรที่ไม่มีคุณภาพ ขาดองค์ประกอบของบ้านที่สำคัญ เช่น ครัว ห้องเก็บของ โรงรถ ที่สำคัญคือร้อนและอยู่ไม่สบาย บ้านควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
คุณภาพชีวิต
1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน
การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การทำการบ้าน การนอน การทำครัว การทานอาหาร การสังสรร หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียงและกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง พื้นที่ ที่ควรแยกเป็นสัดส่วนได้แก่
-ห้องนอน
-ห้องครัว
-ห้องพักผ่อน
-ห้องนั่งเล่น
-ห้องน้ำ
-และหากแยกห้องทางอาหารได้ ก็ยิ่งดี
2. แสงธรรมชาติ
แบบบ้านควรจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสบาย และลดการปิด-เปิดไฟ ที่น่ารำคาญ และไม่ประหยัด แสงธรรมชาติควรจะมาจากส่วนบนของห้องจะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่างส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง
. การระบายอากาศ
ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่
-ห้องน้ำ
-ห้องครัว
-ห้องทานอาหาร
-ห้องพักผ่อน
สำหรับห้องทานอาหาร หากใช้เครื่องปรับอากาศจะทำให้อาหารเย็นชืด และห้องจะมีกลิ่นเหม็น ส่วนห้องพักผ่อนหากใช้เครื่องปรับอากาศมักจะทำให้ห้องอับชื้น และมักจะเป็นห้องที่มีการเปิดประตูบ่อย บางคนอาจจะแพ้อากาศ ห้องที่เน้นการระบายอากาศ ควรจะสูง และใช้วัสดุที่ไม่สะสมความชื้น
หลักการระบายอากาศ ควรจะดำเนินการดังนี้
-จัดสวนรอบบ้าน โดยใช้ต้นไม้ที่มีการเติบโตดี เพราะความเย็นจากต้นไม้ นอกจากจะเกิดจากร่มเงา และการระเหยของน้ำแล้ว ยังเกิดจากการดูดซับพลังงานแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสงด้วย
-ให้บริเวณโดยรอบบ้านมีการถ่ายเทอากาศปานกลาง เพื่อไม่ให้อับชื้น
-หากมีบ่อน้ำ ต้องป้องกันไม่ให้น้ำที่ระเหยจากบ่อ เข้าบ้าน
-ใช้การระบายอากาศ ด้วยแรงยกตัวของอากาศร้อน และใช้การระบายอากาศตามขวาง ห้องที่สูงจะช่วยในการระบายอากาศ และแยกชั้นอากาศร้อนไว้ด้านบน
-ให้ห้องน้ำ และห้องครัวติดนอกบ้าน ประตูห้องน้ำใช้ประตูทึบ เพื่อป้องกันความชื้นเข้าบ้าน
-ใช้พัดลมช่วย ก็สบายโขแล้ว
4. การปรับอากาศ
เยาวชนรุ่นใหม่ เกิดในโรงพยาบาลที่ใช้การปรับอากาศรถยนต์ อาคารสถานที่ต่างๆก็ใช้การปรับอากาศ จึงเป็นเหตุให้บ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ห้องนอน จึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามาส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย
ในปัจจุบันมักจะนิยมใช้เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องนอน จึงต้องออกแบบบ้านให้ห้องนอนมีฉนวนป้องกันความร้อนและความชื้นเป็นอย่างดี เพื่อให้ขนาดของเครื่องปรับอากาศเล็ก และภาระการทำความเย็นในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนใกล้เคียงกัน
5. การป้องกันเสียง
เสียงรบกวน มักจะมาจาก
-เสียงรบกวนจากข้างบ้าน และจากถนน
-กิจกรรมในบ้าน
-เครื่องระบายความร้อน
-ห้องน้ำ
ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงดังนี้
-ใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง
-จัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน
-กั้นผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องนอน ด้วยผนังยิปซั่มโดยใช้โครงเคร่าแยก 2 ชั้น และให้มีช่องว่าง-อากาศอยู่ตรงกลาง
-ตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
-กั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ
6.ห้องสำคัญ
อย่าลืมเตรียมห้องเหล่านี้
-ห้องเก็บของ
-ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
-ห้องขยะหน้าบ้าน
-โรงรถที่มีหลังคาคลุม
แบบบ้านพอคร่าว ๆ สามารถนำไปใช้ได้

สร้างบ้าน

การตัดสินใจสร้างบ้านสักหลัง แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่วางแผนการสร้างบ้านอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของงบประมาณที่จะใช้ในการสร้างบ้าน หากใครไม่วางงบประมาณการสร้างบ้านไว้ล่วงหน้ามีสิทธิ์งบบานปลายง่ายๆ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจสร้างบ้าน ควรมีการวางแผนการสร้างบ้านอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทำเลที่ตั้ง รูปแบบ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ที่สำคัญที่สุด วงเงินที่จะใช้ในการก่อสร้าง แหล่งเงินกู้ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องเสียในช่วงที่ต้องผ่อนชำระ ไม่เช่นนั้น บ้านในฝันของเรา อาจจะทำให้เราฝันร้ายได้ ดังนั้น เมื่อตัดสินใจที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองซักหลัง ก็ต้องเลือกบ้านที่มีคุณภาพ แต่จะเลือกอย่างไรถึงจะเรียกว่า ได้บ้านที่มีคุณภาพ รศ. มานพ พงศทัต เสาหลักอสังหาริมทรัพย์ ให้ข้อคิดดีๆไว้เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านไว้ว่า การเลือกซื้อบ้านใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลักๆ นั่นคือ การออกแบบ ควรจะให้สถาปนิก หรือผู้เชี่ยวชาญออกแบบให้ เพราะการออกแบบที่ถูกต้องถือว่า มีชัยไปกว่าครึ่งเลือกบริษัทที่มีคุณภาพ เลือกสถาปนิกที่มีประสบการณ์การทำงาน ถึงแม้อาจจะจ่ายแพงกว่าแต่คุ้มค่า เพราะบ้านเป็นสิ่งที่เราต้องอาศัยอยู่ตลอดชีวิตของเรา ส่วนราคาก็ต้องสมดุลกับคุณภาพของบ้านด้วย และที่สำคัญคือการก่อสร้าง ที่จะต้องคำนึงทั้งฝีมือแรงงานที่ได้มาตรฐาน และวัสดุที่ต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษในการก่อสร้างบ้าน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ยุ่งยากในการบำรุงและซ่อมแซมในภายหลัง โดยการเลือกซื้อวัสดุควรที่จะต้องรักษาได้ง่าย ดูแลง่าย การซ่อมแซมบ้านเป็นสิ่งจำเป็นเพราะบ้านทุกหลังต้องมีการซ่อมแซม ไม่ว่าจะเป็น
1.การซ่อมน้อย เจ้าของบ้านจะต้องมีความรู้ในเรื่องการซ่อมบ้างไม่ใช่แต่จะเรียกช่างมาซ่อม เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟ ฟิวส์ เจ้าของบ้านควรจะเปลี่ยนเองได้
2.การซ่อมปานกลาง เช่น การซ่อมประตู ลูกปิด พวกนี้อาจจะต้องอาศัยศูนย์ที่จะคอยแนะนำการซ่อมให้
3.การซ่อมใหญ่ บ้านทุกหลังทุก ๆ 5 ปี ต้องมีการตรวจบ้านสักครั้งหนึ่ง หลังคารั่วไหม ต้องทาสีใหม่ไหม ถ้าดูแลรักษาดีก็จะได้บ้านที่มีคุณภาพอยู่กับเราได้นาน ๆ
ในส่วนการดูแลการสร้างหรือซ่อมแซม ทุกวันนี้ทางสถาปนิกและผู้รับเหมา มีสมาคมคอยดูแล เพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบได้ ทุกคนสามารถที่จะสอบถามได้ก่อนที่จะลงมือก่อสร้าง เพื่อความสบายใจของเจ้าของบ้าน

พลังงานเป็นสิ่งจำเป้น

พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลายประเภทด้วยกัน แต่อาจจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บางครั้งวิกฤตการณ์ของโลกอาจจะทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังต้องมีการสั่งน้ำมันเข้าเป็นจำนวนมาก

1. น้ำมันปิโตรเลียม
ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมในแหล่งต่าง ๆ ที่พิสูจน์แล้วไม่น้อยกว่า 174 ล้านบาร์เรล ได้แก่ น้ำมันจากอ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งสตูล) อำเภอฝาง และแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และคาดว่าจะต้องค้นพบอีกหลาย ๆ แห่ง เช่น บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี สุราษฎ์ธานี ซึ่งคาดว่าจะพบอีกไม่น้อยว่า 100 ล้านบาร์เรล เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแอ่งสะสมน้ำมันปิโตรเลียม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเป็นอัตราส่วนสูง เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าปริมาณการใช้มาก การขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ผลที่จะเกิดขึ้นอาจจะมาจากวัสดุที่ใช้หล่อลื่นในการขุด (Drilling fluid) การระบายน้ำเค็ม ที่มีความเค็มสูงมากจากหลุมเจาะ และมีสารบางประเภทที่เป็นพิษปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท แคดเมียม โครเมียม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการจัดการกับบ่อภายหลังสิ้นสุดการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ก็มีความสำคัญต่อสภาพความมั่นคงของพื้นที่ที่อยู่โดยรอบบ่อน้ำมัน
2. ก๊าซธรรมชาติ
นับเป็นแหล่ง
พลังงานที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันปริมาณของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่พิสูจน์แล้วทั้งหมดมากกว่า 100 พันล้านลูกบาศก์เมตร และโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมมีโอกาสสูงมากโดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถนำมาผลิตเป็นมีเธน อีเทน และแอลพีจี ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟฟ้าเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มและยานพาหนะ ก๊าซธรรมชาติเมื่อผ่านเข้ากระบวนการผลิตจะแยกได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งปนมากับก๊าซที่อยู่ในรูปของละอองน้ำมัน เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเบนซินธรรมชาติ สามารถนำไปผสมกับน้ำมันดิบ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ นอกจากนั้นแล้วในแหล่งต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม
3. ถ่านหินลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์รวมทั้งหมด 72 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือและภาคใต้ แอ่งที่จัดว่ามีปริมาณถ่านหินลิกไนต์มากได้แก่ แอ่งแม่เมาะ แอ่งกระบี่ ซึ่งได้มีการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นเวลานานแล้ว ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่สำรวจแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อนำถ่านหินมาใช้ ได้แก่ แอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แอ่งสินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นับว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินลิกไนต์สะสมเป็นจำนวนมหาศาล การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะผลิตกระแสไฟฟ้า ยกเว้นเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่มีเอกชนเข้ามาเปิดดำเนินการ เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์ให้ความร้อนในทางอุตสาหกรรม หากประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินปีละประมาณ 50 ล้านตัน เมื่อเทียบอัตราการใช้ในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้ถ่านหินของประเทศไทยจะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี นับว่าเป็นแหล่ง
พลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ การนำแร่ถ่านหินลิกไนต์มาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ ในอากาศจะมีปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สลายออกจากถ่านหินเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านฝนกรดได้ ส่วนการทำเหมืองจะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

4. พลังน้ำ
การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำ โดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการซึ่งให้ได้มาซึ่งพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแรกได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และต่อมาเขื่อนก็ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น พลังน้ำจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ แต่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียเนื้อที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ราษฎรในพื้นที่น้ำท่วมจึงจะต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัตว์ป่าต่าง ๆ จะสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจจะสูญพันธุ์ไปโดยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะการอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่น้ำท่วมนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ๆ
5. ไม้และถ่าน
แหล่งพลังงานของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ได้จากชีวมวล อันได้แก่ ไม้ฟืนและถ่าน แต่การใช้ป่าไม้เพื่อผลิตพลังงานนั้น จะก่อให้เกิดการทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ได้มีการหวั่นวิตกอยู่ในปัจจุบัน การนำไม้มาใช้เพื่อเป็นแหล่งความร้อนและพลังงานทำให้ป่าปกคลุมโลกประมาณร้อยละ 20 ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงเป็นการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย และจะต้องใช้พื้นที่อย่างกว้างขวางเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับหน่วยความร้อนที่จะได้ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการปลูกพืชขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าไม้และถ่านเป็นแหล่ง
พลังงานที่ไม่น่าจะพัฒนาให้มีการใช้ในโลกปัจจุบัน
6. พลังงานรังสีอาทิตย์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับรังสีอาทิตย์เฉลี่ยประมาณวันละ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตร ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากรังสีอาทิตย์มานานตั้งแต่ในอดีต เช่น การผลิตเกลือจากน้ำทะเล การตากผลิตผลทางเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ยังมิได้ประเมินปริมาณรังสีอาทิตย์ที่ประเทศได้ใช้ในแต่ละปี ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำรังสีอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจะเก็บสะสมไว้ในรูปของเซลความร้อนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากพลังงานจากรังสีอาทิตย์แล้ว ที่เป็นแหล่งพลังงานจากระบบสุริยจักรวาลอีกอย่างได้แก่ พลังงานลมและพลังงานกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพลังงานลมได้มีสถานีสาธิตและประเมินความเหมาะสมที่จังหวัดภูเก็ต

7. พลังงานนิวเคลียร์
ประเทศอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้พื้นที่น้อยให้ปริมาณความร้อนสูง และเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบนอกระบบ เนื่องจากระบบการผลิตเป็นการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียด้วยกันยังมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ปัจจุบันกำลังไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมกันประมาณร้อยละ 20 ของกำลังผลิตของโลก ประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันยังไม่มีโรงไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจจะมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การกำจัดกากเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม อาจจะเป็นในทะเลลึกโดยฝังในชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ หรือการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันแก้ไขได้โดยการวางแผนและการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคตแทนการสร้างเขื่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้พื้นที่ หรือการใช้ถ่านหินที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษด้านอากาศ
8. หินน้ำมัน
หินน้ำมันในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีการสะสมตัวเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตาก ซึ่งประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 21,000 ล้านตัน โดยจะมีน้ำมันดิบปะปนอยู่ประมาณ 6,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในชั้นหินของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 28 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของการแยกน้ำมันออกจากหินน้ำมันยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอทำให้อัตราการคืนตัวต่ำ ในขณะเดียวกับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้ศักยภาพของการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่ง
พลังงานในอนาคตค่อนข้างต่ำ และไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม